บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2016

เพลงวันอาสาฬหบูชา

เพลงวันอาสาฬหบูชา " วันอาสาฬหบูชา พุทธมามกชน ทำบุญให้ทาน         พระองค์ทรงโปรดเทศนาประทาน แก่ห้าพราหมณ์ นั้นกลางเดือน 8 ของวันเพ็ญ            พวกเราจำไว้ถ้วนหน้า วันนี้หนามีพระสงฆ์สมบูรณ์ กลางเดือน 8 ของวันเพ็ญ พวกเราไม่เว้น ทำบุญ และเวียนเทียน"

เพลงวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา " วิสาขบูชา พุทธมามกชน ทำบุญให้ทาน พระองค์ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ชนะหมู่มาร กลางเดือน  6 ของวันเพ็ญ พวกเราชาวไทยถ้วนหน้า ศาสนาพาเราให้ร่มเย็น กลางเดือน 6 ของวันเพ็ญ พวกเราไม่เว้น ทำบุญ และเวียนเทียน"

เพลงวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษาโปรดจงได้จดจำ(ซ้ำ) เดือน 8 น้องเอ๋ยแรม 1 ค่ำ  พระสงฆ์ประจำอยู่ที่วัดทุกคืน จนครบ 3 เดือนท่านก็ไม่ฝ่าฝืน ศาสนายั่งยืนเพราะพระท่านมีวินัย

กาพย์ยานี 11

รูปภาพ
กาพย์ยานี 11 เป็นคำประพันธ์ที่แต่งไม่ค่อยอยากเท่าไหร่นัก   มีหลักการที่สำคัญคือ การจำฉันทลักษณ์ของกาพย์ให้ได้ก่อน  ซึ่งก็มีกลอนที่จะช่วยจำฉันทลักษณ์ของบทกลอนนี้ เช่น อาขยานยานี ยานีมีตำรา          วรรคหน้าห้าหลังหกคำ สองสามสามสามซ้ำ           จังหวะนำเป็นทำนอง วรรคหน้าสัมผัสข้าม        คำที่สามวรรคที่สอง วรรคท้ายหมายคล้องจอง        ท้ายวรรคสองบทต่อไป ตัวอย่างของกาพย์ยานี 11           พฤษภกาสร            อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง               สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย                มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี             ...

อาขยานคำนาม

อาขยานชนิดของคำไทยที่เคยท่องสมัยประถมฯ • คำไทยมีเจ็ดคำ   ที่ต้องจำไว้ให้ดี        คำนาม คือคำที่   ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ เช่น บ้าน หนู หมู หมา  ไฟ ปากกา ปลา เงินทอง ภูเขา ห้วย ลำคลอง  เมืองระนอง นายทองดำ หน้าที่ของนามนะ   เป็นประธานและเป็นกรรม เล่าเล่าพอให้จำ   จงหมั่นเพียรเล่าเรียนไป • คำสอง สรรพนาม  แทนคำนามจำใส่ใจ เช่น เรา เขา เธอ ใคร  หน้าที่คล้ายกับคำนาม • คำสาม คือ กริยา  บอกอาการนาม สรรพนาม เช่น เดิน นอน นั่ง ถาม  กิน วิ่ง พูด ยิ้ม ร้องไห้ • วิเศษณ์ คือคำที่  ให้มีเนื้อความแปลกไป ประกอบนามวิเศษณ์ไซร์  สรรพนามและกริยา เช่น ชั่ว ดี เลว แป้น  เขียว ดัง แบน หอม หวาน ช้า เหม็น ฉุน เปรี้ยว เค็ม จ๋า  เหนือ หมด ใด ไหน ดี แน่ • บุพบท นำหน้านาม สรรพนามตัวอย่าง แด่ ดูก่อน ใน ยัง แต่   แห่ง ของ ด้วย บน โดย ตาม • สันธาน เชื่อมถ้อยคำ คำต่อคำ ความต่อความ เชื่อมประโยคให้งดงาม  เช่น กับ เพราะ และ เช่นว่า • อุทาน การออกเสียง...